รู้ได้อย่างไร เมื่อเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่มีอาการแสดง

รู้ได้อย่างไร เมื่อเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่มีอาการแสดง
โรคหัวใจภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่เราจะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว

ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงหรือแม้แต่ถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้ โดย พญ.วริษฐา เล่าสกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและทรวงอก (Cardiology Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายถึงคุณลักษณะที่น่ากังวลแม้ไม่มีอาการแสดง ร่างกายแข็งแรง แต่ก็ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง มีแบบไหนบ้าง เพื่อจะได้นำไปสังเกตอาการและเป็นแนวทางในการป้องกัน จะได้รักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที

  กลุ่มแบบไหนดังต่อไปนี้ ที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง

1. เพศชายอายุเกิน 40 ปี หรือเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี

2. มีโรคทางพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ

3. พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก

4. มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง รวมถึงความเครียดสะสม

ถ้าคุณเข้าลักษณะในข้อใดข้อหนึ่งก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่ากังวล

  การตรวจเพื่อประเมินหรือป้องกันโรคหัวใจเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ใช้เวลานานมั้ย ต้องลาทั้งวันรึป่าว

1. การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยตรวจจับปัญหาที่อาจไม่มีอาการแสดง รวมทั้งการทดสอบความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจคอเลสเตอรอล และการทดสอบความอดทนของหัวใจ โดยปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่ตรวจ

2. การตรวจ CT Calcium Score หากมีพฤติกรรมความเสี่ยงชัดเจนเข้าเกณฑ์หลายรายการ ก็อาจจะเริ่มกันที่การตรวจ CT Calcium Score หรือการถ่ายภาพด้วยเอ็กซ์เรย์หัวใจ เพื่อที่ช่วยดูความเสื่อมของหลอดเลือด คราบหินปูในหัวใจ เบื้องต้นก่อน โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram - ECG) คือการบันทึกกิจกรรมไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อตรวจสอบจังหวะและค้นหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ การตรวจนี้สามารถตรวจจับหัวใจวาย การขาดเลือดชั่วคราวของหัวใจ และอื่นๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที

โรคหัวใจมีหลากหลายแม้จะไม่มีอาการชัดเจนก็สามารถระบุได้โดยการตรวจในรูปแบบต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และการตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของโรงพยาบาลนวเวช สามารถช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยตระหนักถึงสัญญาณเตือนเหล่านี้ได้ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่ง เพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพและการดูแลที่เหมาะสม

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่าโรคหัวใจขาดเลือดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านคนเป็น 9.1 ล้านคนในปี 2564 นอกจากการป้องกันและคอยตรวจดูความเสี่ยงแล้ว สิ่งสำคัญคือเราทุกคนควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (Basic Life Support) ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันซึ่งสามารถเกิดกับใครก็ได้ กรณีต้องการความช่วยเหลือหรือเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินโทร 02 483 9944 ศูนย์โรคหัวใจ และทรวงอก โรงพยาบาลนวเวชเราพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

เพราะทุกวินาทีคือชีวิต “โรงพยาบาลนวเวช” พร้อมด้วยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มากประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ อย่างครบวงจรในทุกขั้นตอนตั้งแต่การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ การวินิจฉัยระยะเริ่มต้น การรักษา การสวนหัวใจ และการผ่าตัด รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ ด้วยทีมอายุรแพทย์โรคหัวใจผู้ชำนาญการเฉพาะทางควบคู่กับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์หัวใจและทรวงอก (Cardiology Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 1507 I Line: @navavej 


ที่มาของภาพ : โรงพยาบาลนวเวช
ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsport.co.th
Facebook : siamsport
Twitter : siamsport_news
Instagram : siamsport_news
Youtube official : siamsport
Line : @siamsport