ทีมชาติญี่ปุ่น U17 ผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลก 2025 ได้ตามเป้า แม้ตกรอบก่อนรองฯ ศึก U17 ชิงแชมป์เอเชีย 2025 แต่การเปลี่ยนผู้เล่น 8 คนในเกมสำคัญจุดชนวนคำถามว่าทีมมองผลลัพธ์หรือประสบการณ์สำคัญกว่ากัน พร้อมวิเคราะห์มุมมองโค้ชและสื่อญี่ปุ่นอย่าง Gekisaka
ทีมชาติญี่ปุ่น รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี มีอันต้องตกรอบก่อนรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอล 17 ปี ชิงแชมป์เอเชีย 2025 แม้ว่าจะได้ตั๋วไปชิงแชมป์โลก 2025 ที่ประเทศกาตาร์ ได้ตามเป้า แต่ก็มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทีมผ่านเข้ารอบไปเล่นฟุตบอลโลกแบบหวุดหวิด
ผลการแข่งขันที่เกิดขึ้น ญี่ปุ่น ไม่ซีเรียส จริงหรือไม่? การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เล่น 8 คน ในเกมรอบก่องรองชนะเลิศมากึง 8 คน อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะคุณภาพ 23 รายชื่อที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันมาตรฐานอยู่ในระดับใกล้เคียง เนื่องจากคัดสรรมาจากทั้งประเทศด้วยเวทีการแข่งขันและที่ผ่านมาเวียนเข้าวนออกลงเล่นเกมนานาชาติต่อเนื่อง
มุมมองของ โนโซมิ ฮิโรยามะ โค้ช 17 ปี ทีมชาติญี่ปุ่น
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันทำให้อุปสรรคเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ จาก โควตาตั๋วไปแข่งขันชิงแชมป์โลก 4 ทีม ไปเป็น 8 ทีม เมื่อกฏเปลี่ยน วิธีการต่อสู้ของแต่ละทีมก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย การแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการแข่งขันครั้งก่อนๆ
ในทัวร์นาเมนต์ก่อนหน้านี้มักจะเน้นไปที่รอบก่อนรองชนะเลิศ อย่างไรก็ตาม ทัวร์นาเมนต์นี้ได้เห็นการเล่นเกมรุกและรับกันอย่างหนักหน่วงโดยทุกทีมทำงานเต็มที่ตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อเรื่องนี้ก็คือ ประเทศต่างๆ ที่เคยมองว่าการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นเรื่องยาก ตอนนี้กลับมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะคิดว่าสามารถไปแข่งขันชิงแชมป์โลกได้
การแข่งขันที่ติดต่อกันมีเวลาห่างกันเพียงสองวัน และเนื่องจากการแข่งขันครั้งนี้มีลักษณะเฉพาะที่จัดขึ้นบนพื้นที่สูงกว่าน้ำทะเล การจัดการความแข็งแกร่งทางร่างกายของผู้เล่นจึงยังคงมีความจำเป็น ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นกับนักเตะในทีมสำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศเนื่องจากการพิจารณาทางร่างกาย
แน่นอนว่าการที่ญี่ปุ่นจบรอบก่อนรองชนะเลิศในครั้งนี้ จะทำให้ทีมอยู่โถการจับสลาก 17 ปี ชิงแชมป์เอเชียครั้งต่อไป ดังนั้นทีมร่วมสายจะแตกต่างไปจากครั้งนี้ ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ความพ่ายแพ้ต่อเจ้าภาพอย่างซาอุดีอาระเบีย การแพ้ไม่ใช่เรื่องดี แต่ประสบการณ์ในการต่อสู้จนถึงจุดโทษในสนามกีฬาที่มีบรรยากาศที่กดดันถือเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง
สำหรับความพ่ายแพ้นั้นไม่มีวิธีอื่นที่จะอธิบายได้เลยนอกจากเป็นเพียงความพ่ายแพ้ที่เกิดจากการขาดความแข็งแกร่ง ผมต้องการให้พวกเขาได้รับความมั่นใจในขณะที่แข่งขันในรอบรองชนะเลิศและไปต่อจนรอบชิงชนะเลิศ
มุมมองของสื่อญี่ปุ่น Gekisaka
กลุ่ม B ที่ญี่ปุ่นอยู่นั้นมีทีมที่แต้มเท่ากันถึง 3 ทีม จากผลงานชนะ 1 เสมอ 1 แพ้ 1 ได้ทีมละ 4 แต้ม แม้แต่เวียดนามที่อยู่อันดับสุดท้ายก็ยังเสมอถึง 3 เกม ได้ 3 แต้ม ทำให้การแข่งขันสูสีมากขึ้น ถ้าพวกเขายังคงเล่นด้วยแนวคิดแบบเดิม ๆ ที่ว่าค่อยๆเริ่มในรอบแบ่งกลุ่มแล้วไปเร่งในรอบก่อนรองชนะเลิศที่สุดก็อาจต้องเผชิญกับคำว่า "ตกรอบ"
แม้ว่าท้ายที่สุดจะได้ขึ้นไปเป็นจ่าฝูงของกลุ่ม แต่ไม่ควรมองโลกในแง่ดีเกินไปกับผลลัพธ์ที่เป็นแบบนี้ ยังมีปัญหาส่วนบุคคลที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ก็ควรมีการพูดคุยกันด้วยว่าควรมีมุมมองต่อการแข่งขันอย่างไรและควรเล่นอย่างไร
อาจเป็นความจริงบางอย่างสำหรับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นในแง่ดี ตัวอย่างเช่น ทาเคฮิโระ โทมิยาสุ กองหลังทีมชาติญี่ปุ่น และ ริตสึ โดอัน กองกลางที่เคยเข้าร่วมค่ายฝึกซ้อมของทีมมาแล้ว ได้บอกเราว่า นักเตะในวัยนี้ก็สามารถเติบโตได้จากความผิดหวังจากการพ่ายแพ้เช่นกัน นักเตะทั้งสองคนประสบความพ่ายแพ้ในเอเชียเมื่ออายุ 16 ปี แต่พวกเขากลับหันมาสนใจตัวเอง ยกระดับการเล่นของตัวเองจากความผิดพลาด(ไม่ก้าวข้าม) และกลายเป็นนักเตะที่มีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีระดับโลก
ในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ เราหวังว่าจะได้เห็นการเล่นอันยอดเยี่ยมจากนักเตะ โดยนักเตะที่อยู่ในรายชื่อทีมปัจจุบันและนักเตะที่ต้องออกจากทีมเพราะอาการบาดเจ็บ รวมไปถึงนักเตะที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เข้าแข่งขันและนักเตะที่มีพรสวรรค์แต่ถูกละเลยเข้ามาสู่ระบบทีม
ผลงานทีมชาติ 17 ปี ญี่ปุ่น ชิงแชมป์เอเชีย 2025 รอบแรก : ชนะ ยูเออี 4-1,เสมอ เวียดนาม 1-1,แพ้ ออสเตรเลีย 2-3 รอบก่อนรองชนะเลิศ: แพ้ จุดโทษ ซาอุดิอาระเบีย 4-5 (2-2)