ทำไมนักบอลถึงต้องมีเอเย่นต์

การจับมือกะหว่าง เช็ค สุภโชค กับ Jeb Entertainment ถือว่าเป็นเรื่องนึงที่หลายคนน่าจะรู้

สิ่งนึงที่เกิดขึ้นในไทยบ่อยๆ ซื้อขายในตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของทีมโทรหากัน เพื่อตัดตอนตัวกลาง

แล้วทำไมนักบอลถึงต้องทีเอเย่นต์ ลองมาตามดูรายละเอียดและวิเคราะห์กันไปตามที่ผมเคยคุยกับหลายๆ เอเย่นต์ญี่ปุ่นก่อนจะตกลงทำสัญญากัน

การย้ายทีมโดยการพูดคุยกันผ่านเจ้าของทีมส่วนใหญ่ เด็กจะไม่สามารถเจรจาความต้องการของตัวเองได้เลย รู้อีกทีย้ายแล้ว

ผมคือคนของทีม ในบางเรื่องผมก็น้ำท่วมปากคุยไม่ได้ ในบางความต้องการของน้องๆ เราทั้งๆ ที่สุดท้าย ผมก็คนแปล

เดี๋ยวลองมาดูวิธีการทำงานของเอเย่นต์ญี่ปุ่นทั้งก่อนและหลังเซ็นกัน

ก่อนเซ็น

ในการพูดคุยกัน เอเย่นต์ส่วนใหญ่จะส่งประวัติบริษัทให้ดูว่าตอนนี้มีใครในสังกัด

ความต้องการของนักบอลคืออีกเรื่องที่ต้องพูดคุยกันให้ชัดเจน เช่น ขอเวลาอีกสองสามปีย้ายไปทีมที่ใหญ่กว่า หรืออยากไปต่างประเทศ ที่เหลือก็จะเป็นรายละเอียดเรื่องการเจริญเติบโตของตัวเอง เงินเดือนควรจะเพิ่มประมาณไหน ขอโบนัสยิงประตูได้ไหม ห้องขอดีกว่านี้ รถขอดีกว่านี้ ฯลฯ ตามความต้องการส่วนตัว

ย่อหน้าที่แล้วคือเรื่องที่ผมไม่สามารถทำเองได้เพราะเราคือคนของทีม

แต่การมีเอเย่นต์ จะรับฟังทุกอย่างแล้วนำไปเจรจาแทน

สิ่งนึงในการขึ้นเงินเดือนไม่เหมือนไทย ฝั่งนี้จะประเมินตามผลงานถึงเซ็นไปแล้วสี่ห้าปี สิ่งที่ผมเจอมาคือสิ้นปี ฝ่ายประธานเรียกเข้าห้อง แล้วก็บอกว่าปีหน้าจะเพิ่มให้ประมาณนี้นะ เงื่อนไขอื่นๆ ตั๋วเครื่องบินอยากเพิ่มให้ครอบครัวมาประมาณไหน บ้านโอเคไหมอยากย้ายไหม ฯลฯ

นอนจากนั้นการทำงานของเอเย่นต์ หากไม่มีคอนเน็คชั่นในทีมที่มีความสนใจเข้ามา เครื่อข่ายเอเย่นต์ มันสามารถส่งต่อหาอีกเจ้าได้เสมอกับเจ้าที่ผูกอยู่กับทีมนั้นๆ

นอกจากนั้นเขาก็จะเก็บสถิติทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วนำไปเสนอแต่ละทีม ซึ่งถ้าไม่มีเอเย่นต์ ก็จะไม่ถูกนำเสนอ แต่ทีมจะเหมือนเสือรอกิน รอคนติดต่อ

ดังนั้นการผูกกับ Jeb Entertainment เท่าที่ผมเห็นอัตราการเจริญเติบโตถือว่าน่าสนใจ แล้วลองมาลุ้นกันครับในระยะอีกปีหรือสองปี


ที่มาของภาพ : -
ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsport.co.th
Facebook : siamsport
Twitter : siamsport_news
Instagram : siamsport_news
Youtube official : siamsport
Line : @siamsport